ผลิตภัณฑ์ (Product)

 

          ความหมายของผลิตภัณฑ์

   เนื่องจากผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งทางด้านของผู้ผลิต

ผู้จัดจำหน่าย และผู้บริโภค จึงได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า ผลิตภัณฑ์ ไว้หลายทรรศนะ ดังนี้Philip kotler ได้ให้ความหมายของคำว่า ผลิตภัณฑ์ ไว้ดังนี้
ผลิตภัณฑ์ หมายถึง อะไรบางอย่างที่สามารถนำเสนอต่อตลาด เพื่อเรียกความสนใจเรียกให้มีการซื้อ การใช้หรือการบริโภค Jerome E.McCarthy ได้ให้ความหมายของคำว่า ผลิตภัณฑ์ ไว้ดังนี้ผลิตภัณฑ์ หมายถึง ข้อเสนอของบริษัทที่เสนอออกไปเพื่อสร้างความพอใจให้แก่ความต้องการพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้จำกัดความหมายของคำว่า                              ผลิตภัณฑ์ ไว้ดังนี้
ผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้น
จากความหมายดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์ (Product) หมายถึงสิ่งที่เสนอขายโดยธุรกิจ เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ได้รับความพึงพอใจ ผลิตภัณฑ์ที่เสนอขายอาจมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ ซึ่งประกอบด้วย สินค้า บริการความคิด สถานที่ องค์กร หรือบุคคล


องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์

 เป็นการพิจารณาถึงคุณสมบัติและลักษณะที่เป็นส่วนต่างๆ ของผลิตภัณฑ์โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์จะมีองค์ประกอบอยู่ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
1.ผลิตภัณฑ์หลัก (Core Product) หมายถึง ประโยชน์พื้นฐานของผลิตภัณฑ์ซึ่งผู้บริโภคได้รับจากการซื้อสินค้า หรือบริการโดยตรงอาจเป็นเรื่องของประโยชน์ในการใช้สอยการแก้ปัญหาให้ลูกค้า การขายความปลอดภัย ความ        2.ส่วนที่บ่งชี้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product Identification) หมายถึงรูปลักษณ็ของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคสามารถรับรู้ได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์จะมีลักษณะและรูปร่างที่แตกต่างกันสิ่งที่จะบ่งชี้ได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ

แตกต่างกันอย่างไร
3.ส่วนเพิ่มของผลิตภัณฑ์ (Product Augmented) หมายถึงส่วนควบหรือส่วนเสริมของผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลประโยชน์ หรือบริการเพิ่มเติมที่ผู้บริโภคจะได้รับควบคู่ไปกับตัวผลิตภัณฑ์หลักเป็นส่วนที่ช่วยเสริมมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์
4.ส่วนที่คาดหวังจากผลิตภัณฑ์ (Product Expected) หมายถึง สิ่งที่เป็นคุณค่าหรือคุณประโยชน์อื่นที่ผู้บริโภคคาดว่าจะได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์หลักและส่วนควบของผลิตภัณฑ์
5.ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ (Product Potential) หมายถึง ส่วนของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่มีการริเริ่มการ     เปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาไปเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคในอนาคตได้ 

                         การแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์


1.ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค (Consumer Products) หมายถึง สินค้า (Goods) ที่ผู้ซื้อซื้อไปเพื่อนำไปบริโภคอุปโภคเองหรือซื้อไปสำหรับใช้ในครัวเรือนขั้นสุดท้าย มิได้เป็นการซื้อเพื่อนำไปผลิตหรือขายต่อ เรียกผู้ชื่อนี้ว่า ผู้บริโภคคนสุดท้าย สินค้าที่ใช้เพื่อการบริโภค สามารถแบ่งออกแบ่งเป็น 4 ประเภท 
   1.1  สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods) คือ สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อบ่อยครั้งเพราะใช้ในชีวิตประจำวัน
   1.2  สินค้าเปรียบเทียบซื้อ (Shopping Goods) คือ สินค้าที่ผู้บริโภคต้องอาศัยการเปรียบเทียบรูปแบบ คุณภาพละราคาจากหลาย ๆ  ร้านก่อนการซื้อ
   1.3  สินค้าเจาะจงซื้อ (Specialty Goods) คือสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะตามความต้องการของผู้บริโภคอย่่างแท้จริง และผู้บริโภคเต็มใจที่จะใช้ความพยายามในการหาซื้อเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้านั้นโดยผู้บริโภคจะมีความภักดีต่อตรายี่ห้อของสินค้าอยู่ในตัว
   1.4  สินค้าไม่แสวงซื้อ (Unsought Goods) คือ สินค้าที่ผู้บริโภคไม่มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าและยังไม่รู้จักหรือรู้จักแต่ยังไม่คิดที่จะซื้อ เช่น การประกันภัย การประกันชีวิต โลงศพอเป็
2. ผลิตภัณฑ์เพื่อการอุตสาหกรรม (Industrial Products) หมายถึง สินค้าที่ผู้ซื้อซื้อไปดพื่อใช้ในการผลิต ประกอบ หรือแปรสภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปจำหน่ายต่อ และให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของกำไร สินค้าเพื่อการอุตสาหกรรม แบ่งเป็น 6 ประเภท
   2.1  วัตถุดิบ (Raw Materials) คือ สินค้าที่เกิดจากธรรมชาติหรือเกิดจากการทำเกษตรวัตถุดิบส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้เพื่อการอุตสาหกรรม
   2.2  ถาวรวัตถุ หรือสิ่งติดตั้ง (Installations) คือ สินค้าที่ใช้ในการลงทุน ที่มีราคาแพง มีความอดทน อายุการใช้งานนาน
   2.3  เครื่องมือประกอบ (Accessory Equipment) คือ สินค้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการผลิตให้เกิดความรวดเร็ว เช่นแม่แรงยกของ สว่าน เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
   2.4  วัสดุประกอบและชิ้นส่วน (Component Materials and Parts) คือ สินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตมาแล้วและเป็นสินค้าสำเร็จรูป
   2.5  วัสดุใช้สอย หรือวุสดุสิ้นเปลือง (Supplies) คือ สินค้าที่เป็นวัสดุที่ไม่ได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าที่ผลิต
   2.6  บริการ (Services) คือ การให้บริการทางอุตสาหกรรม เป็นการอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานและการผลิตโดยเฉพาะ 

ส่วนประสมของผลิตภัณฑ์

  ส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ (Product Mix) หมายถึงจำนวนของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของกิจการที่มีอยู่เพื่อนำเสนอขายต่อผู้บริโภค ประกอบด้วย
1. สายผลิตภัณฑ์ (Product  Line) หมายถึง กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายในระดับชั้นของผลิตภัณฑ์ และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันในลักษณะของการใช้งานร่วมกัน เช่น สายผลิตภัณฑ์ของเครื่องหนังได้แก่กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด เป็นต้น
2. รายการผลิตภัณฑ์ (Product  Item) หมายถึง ลักษณะของผลิตภัณฑ์ ใดๆ ที่กิจการมีไว้จำหน่าย ซึ่งมีความแตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์ อื่น ๆ  ภายในตราสินค้าหรือภายในสายผลิตภัณฑ์ เช่น กระเป๋าเอกสาร กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าใส่ธนบัตร เป็นต้น
3. ความยาวของผลิตภัณฑ์ (Product Length) หมายถึง ผลรวมของจำนวนรายการทั้งหมดในทุกสายผลิตภัณฑ์ที่กิจการมีไว้จำหน่าย หรืออาจกล่าวได้ว่าสินค้าทั้งหมดทุกประเภททุกรายการรวมทั้งสิ้นของยบริษัท 
4. ความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ (Product Line Consistency) หมายถึง ความสัมพันธ์ที่เข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์ทั้งทางด้านการผลิต การจัดจำหน่าย กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และการดำเนินด้านการตลาด เช่น ผลิตภัณฑ์ของบริษัท สหพัฒนพิบูล ทุกสายมีความสัมพันธ์กันไม่ว่าจะเป็น ด้านการผลิต การตลาด การจัดจำหน่ายและอื่น ๆ  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น